Norrigtckink

คำอธิบาย

ขอเชิญสาธุชนผู้ใจบุญทุกท่าน
ให้ทุกท่าน มีทรัพย์สิน เพิ่มพูนทวี
บุญกุศลรอท่านอยู่
ให้ทุกท่าน มั่งมี ศรีสุข ตลอดกาล

วันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ประวัติไต้ฮงกง



ในสมัยราชวงศ์ซ้อง ได้เกิดบุคคลสำคัญขึ้นท่านหนึ่ง แซ่ลิ้ม เป็นชาวมณฑลฮกเกี้ยน และมีสติปัญญาปราดเปรื่องสามารถสอบไล่ได้ตำแหน่ง "จิ้นสือ" และเข้ารับราชการในตำแหน่งนายอำเภอ มณฑลเจียะเจียง ท่านปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต สามารถปกครองราษฎรให้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข ต่อมาท่านเกิดความเบื่อหน่ายในชีวิตราชการ ท่านจึงได้สละลาภยศอันสูงเกียรติออกอุปสมบทเป็นพระภิกษุในบวรพุทธศาสนานิกายมหายาน ณ วัดแห่งหนึ่งในมณฑลฮกเกี้ยนได้รับฉายาว่า "ไต้ฮง" เมื่อได้อุปสมบทแล้วท่านก็ได้หมั่นบำเพ็ญศาสนกิจ ศึกษาพระไตรปิฎกจนแตกฉาน ปฏิบัติ วิปัสสนากรรมฐานจนบรรลุธรรมอันวิเศษ

ท่านไต้ฮงพำนักอยู่ที่วัดดังกล่าวเป็นเวลาหลายปี ด้วยจิตที่เปี่ยมไปด้วยความเมตตากรุณาต้องการออกโปรดสัตว์ ท่านจึงได้ออกธุดงควัตรจากเมืองฮกเกี้ยนไปตามเมืองต่างๆ ตลอดเส้นทางที่ท่านธุดงค์ผ่านไปนั้น เมืองใดที่ประสบภัยพิบัติต่างๆ ท่านก็จะช่วยขจัดปัดเป่า บรรเทาทุกข์ให้เมืองใดที่ทำการสร้างถนนหรือสะพาน ท่านก็จะช่วยเหลือจนกระทั่งเสร็จเรียบร้อย ในบางแห่งที่มีโรคระบาด มีคนเจ็บและล้มตาย ท่านก็จะช่วยนำยารักษาโรคออกแจกจ่ายแก่ผู้เจ็บป่วย และออกบิณฑบาตไม้ มาทำโลงศพและนำศพไปบรรจุฝังตามธรรมเนียม



พระภิกษุไต้ฮงออกธุดงค์โปรดสัตว์อยู่หลายปี จนกระทั่งผ่านมายังเมืองแต้จิ๋ว ก็มีพุทธศาสนิกชนนิมนต์ท่านไปจำพรรษาอยู่ที่วัดเก่าแก่แห่งหนึ่งบนภูเขาปักซัว อำเภอเตี่ยนเอี้ย ซึ่งตลอดเวลาที่ท่านได้พำนักอยู่ที่วัดแห่งนี้ท่านได้บำเพ็ญศาสนกิจอย่างเคร่งครัด ด้วยความมีเมตตาธรรมจนเป็นที่เลื่องลือไปทั่ว ทำให้บรรดาสาธุชนที่มีความศรัทธาเข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุในบวรพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ ท่านยังได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์วัดดังกล่าวจนกลายเป็นพระอารามใหญ่ เจริญรุ่งเรืองมาจนทุกวันนี้

ในบั้นปลายชีวิตของท่าน ได้ออกธุดงค์ไปอยู่จำพรรษาที่วัดเมี่ยงอัง ตำบลฮั่วเพ้ง ห่างจากอำเภอเตี่ยนเอี้ยไปประมาณ 15 กิโลเมตร ที่หมู่บ้านนี้มีแม่น้ำเหลียงเจียงไหลผ่าน แบ่งเป็นฝั่งตะวันออกและตะวันตก วัดเมี่ยงอังตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ ในสมัยนั้นแม่น้ำเหลียงเจียงเมื่อถึงฤดูน้ำหลาก น้ำในแม่น้ำไหลเชี่ยวกรากมาก อีกทั้งมีความกว้างใหญ่และลึก ประชาชนจึงใช้เรือเป็นพาหนะ ยามเมื่อเกิดมรสุมจะเกิดเหตุเรือล่มบ่อยๆ ทำให้มีผู้คนเสียชีวิตอยู่เป็นประจำ ท่านไต้ฮงจึงเกิดความเวทนาสงสารประชาชน จึงดำริที่จะสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเหลียงเจียง เพื่อให้ประชาชนได้สัญจรโดยสะดวก ท่านจึงได้บิณฑบาตวัสดุก่อสร้างต่างๆ อยู่หลายปี จนในปีพ.ศ.1671 มีพ่อค้าใหญ่เดินทางมานมัสการท่าน และทราบว่าท่านจะสร้างสะพาน จึงได้นำช่างก่อสร้างและวัสดุมาร่วมสร้างสะพานด้วย

ส่วนบริเวณที่จะสร้างสะพานนั้นท่านได้เลือกตรงหน้าศาลเจ้าหลักเมือง และดูฤกษ์ยามสำหรับการเริ่มงาน ในวันที่เริ่มสร้างสะพานสิ่งที่ไม่มีใครคาดคิดคือน้ำในแม่น้ำเกิดลดลงไปจนเกือบแห้งเป็นที่อัศจรรย์ บรรดาประชาชนและช่างต่างก็ก้มลงกราบท่านด้วยความศรัทธา ท่านกลับบอกว่าให้กราบฟ้าดินเถิด การครั้งนี้น้ำทะเลที่ปากแม่น้ำจะไม่ขึ้นลงเป็นเวลา 7 วัน เมื่อทราบเช่นนั้นพวกช่างจึงทำการสร้างรากฐานสะพานและสร้างถ้ำสำหรับระบายน้ำจำนวน 19 ถ้ำ จนแล้วเสร็จโดยใช้เวลา 7 วันพอดี วันต่อมาน้ำในแม่น้ำเหลียงเจียงก็ขึ้นลงตามปกติ การก่อสร้างสะพานจึงเป็นไปด้วยความราบรื่นจนกระทั่งเสร็จ จัดว่าเป็นสะพานหินที่มีความยาวมาก และตั้งชื่อสะพานนี้ว่า "ฮั่วเพ็ง" หลังจากที่สร้างสะพานเสร็จท่านก็เริ่มอาพาธด้วยโรคชรา และมรณภาพลงด้วยอาการสงบ สิริอายุได้ 85 ปี ชาวเมืองจึงได้ประกอบพิธีบำเพ็ญกุศลและฝังร่างของท่านไว้ ณ ภูเขาฮั่วเพ็ง และยังสร้างศาลเจ้าประดิษฐานรูปเหมือน ไต้ฮงกงโจวซือไว้สักการบูชา มีนามว่า "ศาลเจ้าป่อเต็กตึ๊ง" มาจนทุกวันนี้

ในประเทศไทย ประมาณปีพ.ศ.2453 ชาวจีนโพ้นทะเลได้เข้ามาอาศัยร่มพระบรมโพธิสมภารแห่งองค์พระมหากษัตริย์ไทย ด้วยความเลื่อมใสในพระบวรพุทธศาสนา จึงร่วมกันจัดตั้งองค์กรสงเคราะห์สาธารณภัย เพื่อเจริญรอยตามกุศลเจตนาของท่านไต้ฮงกงโจวซือ โดยใช้ชื่อว่า "มูลนิธิฮั่วเคี้ยวป่อเต็กเซี่ยงตึ๊ง" หรือที่เรารู้จักกันในนาม "มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง" ตั้งอยู่บนถนนพลับพลาไชย กทม.

ในจังหวัดสมุทรปราการ ได้มีองค์ไต้ฮงโจวซือกงนี้ มาเป็นเวลาร่วม 80 กว่าปี และคณะกรรมการชุดปัจจุบัน เข้ามาบูรณะพัฒนา ประมาณปี 2547 และเริ่มแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ ปี พ.ศ. 2553
เป็นต้นมา จึงได้มีการปฏิสังขรณ์ การสร้างลานรับพลังฟ้า-ดิน ซึ่งให้ประชาชนทัวไป มากราบไหว้
องค์ไต้ฮงกง บนลานรับพลังฟ้าดิน เพื่อขอพรเทพยดาฟ้-าดิน ให้สุขภาพแข็งแรง มีแต่ความเจริญรุ่งเรืองอีกทั้งองค์เทพเจ้าแห่งโชคลาภ เทพเจ้าเหี่ยงเทียงเสี่ยงตี่ และเจ้าพ่อเสือ ที่ประชาชนโดยทั่วไปสักการะบูชา รวมทั้ง เทพเจ้าคุ้มครองดวงชะตา(ทั้ง 12 ราศี) ไท้ส่วยเอี๊ย มาประดิษสถาน ที่ศาลเจ้าไต้ฮงกงปากน้ำแห่งนี้ ซึ่งลานรับพลังฟ้า-ดิน และ  เทพเจ้าคุ้มครองดวงชะตา(ทั้ง 12 ราศี) ไท้ส่วยเอี๊ย ก็เป็นที่แรกและที่เดียวในจังหวัดสมุทรปราการ จึงขอเชิญชวนสาธุชนทุกท่าน มาร่วมสักการะบูชา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ 
ที่ได้กล่าวมาข้างต้นนี้ ณ ที่ศาลเจ้าไต้ฮงกงปากน้ำแห่งนี้

วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เทพเจ้าคุ้มครองดวงชะตา(ไท้ส่วยเอี๊ย)


ตามหลัก โป๊ยยี่สี่เถี่ยว หรือโหราศาสตร์จีนในแต่ละปี ดวงชะตาชีวิตของแต่ละคนก็จะเปลี่ยนแปลงไป ดวงชะตาของคนเกิดปีนักษัตรต่างๆ ทั้ง 12 นักษัตร จะมีความสัมพันธ์กับนักษัตรในปีนั้นๆ มีทั้งดี คือ ส่งเสริมคนจีน(ดี) เรียกว่า ฮะและไม่ดีเรียกว่า ชงถ้าปีใดส่งเสริมกันก็จะทำให้เจ้าชะตาชีวิตมีความเจริญรุ่งเรืองทำอะไรก็จะประสบความสำเร็จ แต่ถ้าปีใดเป็นปีปฏิปักษ์ต่อกันหรือ ชงก็จะทำให้เจ้าชะตาชีวิตมีแต่อุปสรรคติดขัด การดำเนินชีวิตไม่ราบรื่น ไม่ว่าดวงชะตาจะดีหรือ ไม่ดีอย่างไรก็ตามชาวจีนจะต้องไหว้ เทพเจ้าคุ้มครองดวงชะตา (ไท้ส่วยเอี๊ย) เพื่อคุ้มครอง หากดวงชะตาชีวิตก็จะช่วยส่งเสริมให้ดียิ่งขึ้นไป ถ้าดวงชะตาชีวิตไม่ดีก็จะช่วยให้นั้นเป็นเบาคุ้มครองป้องกันจากอุปสรรคทั้งปวงให้ผ่านพ้นไป จนผ่านปีนักษัตรนั้นไปได้ จากการไหว้เทพเจ้าไท้ส่วยเอี๊ยเป็นความเชื่อและประเพณีปฏิบัติของคนจีนทั่วโลก โดยเฉพาะคนที่มีดวงชะตาตกต่ำหรือปีชง วิธีแก้ไขดวงชะตาจะมีการทำพิธี นำซึ้งปักเต๋งเก็ง หรือพิธีสวดมนต์เสริมดวงชะตา แต่ผู้ที่ไม่ชงก็สามารถทำได้เพื่อให้อยู่เย็นเป็นสุขหนุนส่งดวงชะตา                                                                                      เทพเจ้าไท้ส่วยเอี๊ย หรือ เทพเจ้าคุ้มครองดวงชะตา ชาวจีนให้ความสำคัญมาก ดังจะเห็นได้จากโหราศาสตร์หรือดวงจีนที่ผูกพันกับเรื่องนักษัตรปีเกิด หรือดวงชะตาชีวิตของมนุษย์ทุกผู้ทุกนาม ไม่ว่าชะตาชีวิตจะดีหรือไม่ดี ชาวจีนจะต้องไหว้ เทพเจ้าคุ้มครองดวงชะตา (ไท้ส่วยเอี๊ย) เพื่อให้คุ้มครอง หากดวงชะตาชีวิตดีอยู่แล้ว ก็จะช่วยส่งเสริมให้ดียิ่งขึ้นไปอีก ถ้าชะตาชีวิตไม่ดีก็จะช่วยให้หนักเป็นเบา คุ้มครองป้องกันจากอุปสรรคทั้งปวงให้ผ่านพ้นไปด้วยดี จนผ่านปีนักษัตรนั้นไปได้ด้วยความราบรื่น การไหว้ "เทพเจ้าไท้ส่วยเอี๊ย" เป็นความเชื่อ และประเพณีปฏิบัติของชาวจีนทั่วโลก โดยเฉพาะคนที่มีดวงชะตาตกต่ำ หรือ "ชงปี" วิธีแก้ไขดวงชะตา จะมีการทำพิธี นำซึ้งปักเต๋าเก็ง หรือ พิธีสวดมนต์เสริมดวงชะตา แต่ผู้ไม่ "ชงปี" ก็สามารถทำได้ เพื่อให้อยู่เย็นเป็นสุข หนุนส่งดวงชะตาให้ดียิ่งๆขึ้น
หลักวิธีดูปีที่ "ชง" หรือ "ฮะ"
ปีชวด
ไม่ถูกโฉลก
ปีมะเมีย
ปีฉลู
ไม่ถูกโฉลก
กับปีมะแม
ปีขาล
ไม่ถูกโฉลก
ปีวอก
ปีเถาะ
ไม่ถูกโฉลก
ปีระกา
ปีมะโรง
ไม่ถูกโฉลก
ปีจอ
ปีมะเส็ง
ไม่ถูกโฉลก
ปีกุน
ปีที่ส่งเสริมกัน (ถูกโฉลก)
ปีชวด
ถูกโฉลก
ปีฉลู
ปีขาล
ถูกโฉลก
ปีกุน
ปีเถาะ
ถูกโฉลก
ปีจอ
ปีมะโรง
ถูกโฉลก
ปีระกา
ปีมะเส็ง
ถูกโฉลก
ปีวอก
ปีมะเมีย
ถูกโฉลก
ปีมะแม

วิธีไหว้เจ้าเสริมดวงชะตา สะเดาะเคราะห์
  1. เขียนชื่อ-สกุล วัน เดือน ปีเกิด ของตนเอง หรือเขียนแทนให้คนอื่นก็ได้
  2. นำไปไหว้เทพเจ้าคุ้มครองดวงชะตา (ไท้ส่วยเอี๊ย)
  3. จุดธูป 3 ดอก อธิษฐานให้ท่านช่วยคุ้มครองดวงชะตาชีวิต
  4. ถ้าเป็นของตัวเองให้ปัดลงมาตั้งแต่ศีรษะลงมาสุดแขน 12 ครั้ง



หน้าที่รับผิดชอบ
เทพเจ้าไท้ส่วยเอี๊ยจะปกป้องคุ้มครองดวงชะตาชีวิตคน หากดวงชะตาชีวิตดีอยู่แล้ว ก็จะช่วยส่งเสริม ให้ดียิ่งขึ้นไปอีก ถ้าชะตาชีวิตไม่ดีก็จะช่วยให้หนักเป็นเบา คุ้มครองป้องกัน จากอุปสรรคทั้งปวง ให้ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี จนผ่านปีนักษัตรนั้นไปได้ด้วยความราบรื่น
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
คนที่เชื่อว่าตนเองมีเคราะห์ อย่างเช่น ปีนี้เป็นปีจอ ซึ่งไม่ถูกโฉลกกับ ปีมะโรง หรือที่เรียกว่า ชงก็จะมากราบไหว้ เพื่อขอให้ท่านรับเคราะห์กรรม โรคภัยแทน โดยพิธีการจะมีการให้เขียนชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิดลงในกระดาษ จากนั้นผู้ดูแลศาลเจ้าจะนำสวดเป็นภาษาจีน จากนั้นก็จะแปลเป็นภาษาไทยให้ผู้นั้นพูดตาม ถือเป็นพิธีการ สะเดาะเคราะห์ โดยเชื่อว่าท่านจะปกปักรักษาให้แคล้วคลาดภยันตรายทั้งปวง


(�Sۛ6

ตำนาน "เจ้าพ่อเสือ"



เป็นเรื่องของความเชื่อที่ว่าเสือเป็นสัตว์ที่มีพลังอำนาจมาก สัตว์ทั้งปวงต่างก็มีความเกรงกลัว แต่อีกความเชื่อกลับเขียนบอกว่า เรื่องนี้เป็นนิยายปรัมปรา มีแม่ทัพชาวจีนคนหนึ่ง มีความสามารถในการรบเป็นอันมาก นอกจากจะรบเก่งแล้ว เขายังมีวิชาอาคมสามารถแปลงตัวเป็นเสือได้อีกด้วย ความสามารถนี้เองที่ทำให้คนทั่วไปยกย่องและเชิดชู แต่สิ่งนี้กลับทำให้ฮ่องเต้เกิดความไม่สบายใจ กลัวว่าในวันข้างหน้า แม่ทัพคนนี้จะมาล้มล้างราชบัลลังก์
เมื่อสงครามสงบโดยที่ชัยชนะเป็นของแม่ทัพคนนี้ ตัวของฮ่องเต้ก็ยิ่งหวาดระแวงมากยิ่งขึ้น ในที่สุดฮ่องเต้จึงได้วางแผนการที่จะกำจัดแม่ทัพคนนี้ โดยการจัดให้มีงานเลี้ยงขึ้นภายในพระราชวัง โดยเชิญแม่ทัพคนนี้ให้มางานเลี้ยง ฮ่องเต้ได้ผสมยาพิษอย่างแรงใส่ลงไปในเหล้าแล้วให้แม่ทัพดื่ม ซึ่งแม่ทัพก็ดื่มทั้งที่รู้ว่าเหล้าแก้วนั้นมียาพิษผสมอยู่ แต่ด้วยเป็นผู้ที่มีวิชาอาคมแก่กล้า เหล้าผสมยาพิษแก้วนั้นไม่อาจทำให้แม่ทัพเสียชีวิตตามที่ฮ่องเต้ต้องการ แม่ทัพได้ถามฮ่องเต้ว่าทำแบบนี้เพื่ออะไร ฮ่องเต้ตอบว่าต้องการจะกำจัดเขาออกไปเพราะกลัวว่าในภายภาคหน้า เขาจะมีความมักใหญ่ใฝ่สูง ต้องการอยากจะเป็นฮ่องเต้ขึ้นมา
ทางฝ่ายแม่ทัพได้ยินเช่นนั้นก็มีความเศร้าเสียใจ ด้วยจิตใจของเขามีแต่ความซื่อสัตย์และจงรักภักดีต่อฮ่องเต้มาก ขนาดถึงขั้นยอมตายเพื่อราชบัลลังก์ได้ แม่ทัพพยายามกราบทูลองค์ฮ่องเต้ให้เข้าใจแต่ก็ไม่เป็นผล พระองค์ได้มีรับสั่งให้แม่ทัพพิสูจน์ในคำพูด โดยการให้เนรเทศตัวเองออกไปอยู่ยังเมืองอื่น โดยจะไม่ย้อนกลับมายังแผ่นดินนี้อีกเลย ซึ่งแม่ทัพก็น้อมรับพระบัญชา ยอมออกจากเมืองโดยจะไม่หวนคืนกลับมา
......
ทางฝ่ายหัวเมืองต่างๆ เมื่อทราบข่าวต่างก็เริ่มแข็งข้อ พยายามแยกตัวเป็นอิสระจากฮ่องเต้ บางเมืองยังได้มีการจัดทัพเพื่อมาทำสงครามกับทางเมืองหลวง ซึ่งในขณะนั้นขวัญและกำลังใจของพวกทหารหลวงไม่มีเหลืออยู่เลย สงครามที่เกิดขึ้นฝ่ายเมืองหลวงทำท่าว่าจะเป็นฝ่ายเพลี้ยพล้ำ ฮ่องเต้เตรียมที่จะสละราชบัลลังก์ แต่แล้วจู่ๆ ก็มีเสือโคร่งตัวโตปรากฏขึ้น เสือตัวดังกล่าวได้ช่วยองค์ฮ่องเต้ให้รอดพ้นจากเงื้อมือข้าศึกเอาได้อย่างทันท่วงที ทหารของข้าศึกเป็นจำนวนมากถูกเสือตัวนั้นกัดตาย ที่เหลือก็หนีแตกกระเจิงกลับไป
ฮ่องเต้รู้สึกซาบซึ้งในบุญคุณของเสือตัวนั้นมาก พระองค์ทรงได้ทำการชุบเลี้ยงเสือไว้ในวัง ต่อมาฮ่องเต้เกิดมีความหวาดกลัวเสือตัวนั้น เพราะคิดว่าในวันข้างหน้าเสืออาจจะมาทำร้ายพระองค์ ฮ่องเต้จึงได้ให้คนมาสังหารเสือตัวนั้นจนตาย พอเสือสิ้นชีวิตลงเหตุการณ์ที่ไม่มีใครคาดฝันก็เกิดขึ้น ร่างของเสือตัวนั้นได้กลายเป็นแม่ทัพกล้าผู้นั้น ฮ่องเต้จึงได้ทราบความจริงว่า ที่ผ่านๆ มาทั้งหมด พระองค์เป็นฝ่ายผิดมาโดยตลอด พระองค์ได้สังหารผู้ที่มีความจงรักภักดีต่อพระองค์ ฮ่องเต้ทรงจัดการกับศพของแม่ทัพอย่างสมเกียรติ ทรงมีรับสั่งให้สร้างรูปปั้นของแม่ทัพไว้ที่หน้าประตูเมือง เพื่อเป็นเครื่องระลึกถึงความยิ่งใหญ่ และจิตใจที่เสียสละของแม่ทัพกล้าผู้นั้น ต่อมาได้มีหัวเมืองต่างๆ ส่งกองทัพมาเพื่อที่จะตีเมืองหลวง แต่เมื่อกำลังของกองทัพเคลื่อนพลมาถึงหน้าประตูเมือง ความมหัศจรรย์ก็พลันบังเกิดขึ้น ม้าที่ทหารขี่มานั้นแสดงความตื่นตระหนก และสลัดทหารที่ขี่อยู่บนหลังตกลงมา ทัพของข้าศึกจึงต้องแตกพ่ายกลับไปอีกครั้ง
จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ ทำให้ฮ่องเต้ทรงมีความเชื่อว่า วิญญาณของแม่ทัพกล้าผู้ซื่อสัตย์ต่อพระองค์ ยังคงวนเวียนคอยคุ้มภัยให้บ้านเมืองมีความร่มเย็นเป็นสุข ฮ่องเต้จึงทรงพระราชทานนามให้แม่ทัพกล้า ว่า "ขุนศึก-ยอดทหารเสือ"
"
ขุนศึก-ยอดทหารเสือ" เป็นที่เลื่อมใสและศรัทธาในหมู่คนจีนเป็นอันมาก พวกเขามีความเชื่อว่ายามที่พวกชาวบ้านมีทุกข์ หากว่าได้ทำการบนบานขอให้ท่านช่วย ทุกข์ภัยดังกล่าวก็จะหมดไปในทันที
......
แต่การเรียกนามของแม่ทัพกล้า ว่า "ขุนศึก-ยอดทหารเสือ" เป็นการไม่บังควร เพราะเป็นคำเรียก "เฉพาะ" ขององค์ฮ่องเต้ ดังนั้นพวกชาวบ้านทั่วไปจึงเรียกนามของท่านว่า "พระเจ้าเสือ" ซึ่งเป็นคำเรียกที่ถือว่ามีความเหมาะสมอย่างที่สุด
การบูชาพระเจ้าเสือ
หากว่าท่านมีทุกข์ร้อน หรือมีปัญหาติดขัดใดๆ เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องภายในครอบครัว หรือว่าเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับหน้าที่การงาน หากท่านบนบานขอให้เจ้าพ่อเสือมาช่วยท่าน สิ่งที่ผู้คนนิยมบนบานมากที่สุด ได้แก่ ไก่ต้ม ไข่ต้ม ดอกไม้สีสด เป็นต้นว่า สีแดงสด สีเหลืองสด หากเป็นผลไม้ให้ถวาย ส้มเขียวหวาน
คุณบักเซียม แซ่แต้ ได้เล่าให้ฟังว่า เจ้าพ่อเสือ เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่ผู้คนเป็นจำนวนมากนับถือ แต่ก็มีพวกนักเลงกลุ่มหนึ่ง นอกจากจะไม่นับถือเจ้าพ่อเสือแล้ว ยังพยายามทำให้คนทั่วไปเห็นว่า เจ้าพ่อเสือ ไม่ได้มีความศักดิ์สิทธิ์อย่างที่ชาวบ้านทั่วไปเชื่อกัน  มันเป็นพวกนักเลงหลังวัง พวกนี้เป็นแกงค์ก่อกวนจริงๆ พยายามทำตัวเป็นนักเลง ทำให้คนอื่นๆ เกรงกลัว หัวหน้ามีชื่อว่าแดง หลังวัง ไอ้นี่เลวสุดๆ มีอยู่คราวหนึ่งพวกชาวบ้านจัดงานประจำปีเพื่อถวายให้เจ้าพ่อเสือ เป็นงานยิ่งใหญ่ มีผู้คนมาเที่ยวกันเป็นจำนวนมาก ตอนที่พวกชาวบ้านกำลังเที่ยวกันเพลินๆ อยู่นั้น พวกของ แดง หลังวัง ก็ชักปืนออกมา แล้วยิงขึ้นฟ้าเสียงดังปัง ปัง ชาวบ้านพากันวิ่งหนีเอาตัวรอด ตำรวจได้ยินก็กรูกันมา พวกของไอ้แดงก็แตกหนีกระเจิง ตัวไอ้แดงหนีเข้าไปแอบอยู่ในศาลเจ้าพ่อเสือ ตำรวจจะเข้าไปจับก็ไม่กล้า เพราะไม่รู้ว่ามันจะยิงสวนออกมารึเปล่า ครู่ใหญ่ ก็มีเสียงของไอ้แดงร้องขอความช่วยเหลือ ชาวบ้านและตำรวจได้ยินชัดเลยว่า มันตะโกนบอกว่า เสือจะกัดมัน แล้วมันก็วิ่งหนีออกมา ตามตัวมีรอยข่วน เลือดโชกเต็มไปหมด ไอ้แดงเพ้อเหมือนคนบ้า มันบอกว่ามีเสือตัวโตอยู่ในศาลเจ้า พอตำรวจเข้าไปดูในศาลก็ไม่พบเสือแม้แต่ตัวเดียว จากวันนั้นไอ้แดงก็กลายเป็นคนเสียสติไปเลย เรื่องนี้เป็นเรื่องจริง เจ้าพ่อเสือท่านมีความศักดิ์สิทธิ์มาก" คงจะเป็นบทเรียนที่ แดง หลังวัง จ่ายแพง ที่สุดในชีวิต!!!

วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ประวัติเทพเจ้าตั่วเหล่าเอี๊ย หรือองค์เทพ เฮี่ยงเทียนเสี่ยงตี่

ช่วงตรุษจีนของทุกปีเทพองค์หนึ่งที่ ผู้คนนิยมไปกราบไหว้ขอพรกันอย่างเนืองแน่น เพื่อให้มีโชคมีชัยตลอดทั้งปี ก็คือ "ตั่ว เหล่าเอี๊ย หรือเฮี่ยงเทียนเสี่ยงตี่" ณ ศาลเจ้าพ่อเสือ ซึ่งชาวจีนถือเป็นเทพศักดิ์สิทธิ์ที่คอยปกป้องอภิบาล และปราบปรามศัตรู
ตำนานที่ 1 เทพเจ้าตั่วเหล่าเอี๊ย หรือองค์เทพ เฮี่ยงเทียนเสี่ยงตี่
มี ตำนานเล่าขานมากมายเกี่ยวกับตั่วเหล่าเอี๊ย อาทิ ในเทวปกรณัมของจีนกล่าวว่า เมื่อครั้งบรรพกาลล่วงมาแล้ว เมืองลกฮง กึงตัง ประเทศจีน มีชายหนุ่มรูปร่างกำยำใหญ่ผู้หนึ่งประกอบอาชีพฆ่าหมูและวัวเพื่อส่งขาย คืนหนึ่งเกิดนิมิตเห็นนักพรตลัทธิเต๋ามาบอกให้เลิกฆ่าสัตว์ เพราะเขามิได้เกิดมาเพื่อการนี้ แต่เกิดมาเพื่อสร้างบารมี ควรหันมาบำเพ็ญธรรมแล้วจะสำเร็จ เมื่อตื่นเช้าขึ้นมาชายหนุ่มจึงเล่าให้มารดาฟัง ซึ่งมารดาก็เห็นด้วย ทั้งสองจึงตกลงยุติการฆ่าสัตว์และตั้งใจบำเพ็ญปฏิบัติธรรม
          เมื่อตั้งใจบำเพ็ญปฏิบัติธรรมไปได้ 3-4 วัน นักพรตที่นิมิตฝัน ก็มาปรากฏกายที่หน้าบ้าน ถามมานพหนุ่มว่า เขาตัดสินใจเด็ดเดี่ยวที่จะบำเพ็ญพรตให้สำเร็จหรือยัง มานพหนุ่มตอบตกลงทันที และจัดการทรัพย์สินรวบรวมเป็นเงินก้อนหนึ่ง ไว้เลี้ยงดูมารดาผู้ชรา แล้วเก็บข้าวของออกเดินทางตามนักพรตขึ้นเขาไปบำเพ็ญพรต  ด้วยความมานะ ตั้งใจหมั่นปฏิบัติบำเพ็ญ แต่การปฏิบัติก็ไม่มีความก้าวหน้า ไม่ประสบผลแต่อย่างไร ศิษย์ที่มาใหม่ต่างสำเร็จไปก่อนเขา ทำให้มานพหนุ่มรู้สึกเสียใจ ท้อใจ วันหนึ่งจึงถามท่านนักพรตผู้อาจารย์ว่า เขาจะมีวันสำเร็จธรรมไหม ท่านอาจารย์ตอบแก่เขาว่า ตราบใดที่ภายในของเขายังสีดำอยู่ ก็อย่าถามถึงความสำเร็จเลย พอกลับไปถึงห้องพัก มานพหนุ่ม ครุ่นคิดอย่างหนัก อีกทั้งเสียใจ ข้องใจ ในคำพูดของอาจารย์ว่า ภายในของเขา สีดำ นั้นหมายความว่าอย่างไร เพราะเขามีความตั้งใจมั่นมาบำเพ็ญธรรม ก็เพื่อความสำเร็จ ถ้าภายในคืออุปสรรค เขาก็ยินดีพลีชีพเพื่อบูชาธรรมที่หวังจะ สำเร็จนั้น ๆ  คิดได้ดังนั้น เขาก็คว้ามีดขึ้นมาคว้านท้อง ลากไส้และกระเพาะออกมา พอเครื่องในเหล่านั้นหลุดพ้นจากร่าง เขาก็รู้สึกตัวเบาและบรรลุธรรมทันที เนื่องเพราะอาชีพที่ฆ่าสัตว์มามาก และมานพหนุ่มเอาชีวิตตนแลกธรรม เพื่อทดแทนบาปเคราะห์กรรม ที่มาเป็นอุปสรรคขัดขวางการบำเพ็ญได้สำเร็จ อาจารย์นักพรตทราบความ เร่งรุดมาที่ห้องพักมานพหนุ่ม เข้าช่วยเหลือรักษา พยาบาลจนมานพหนุ่มเป็นปกติ โดยท้องมานพหนุ่มปราศจากลำไส้ และกระเพาะ แต่มิเป็นอุปสรรคต่อการดำรงชีวิต เพราะฌานสมาบัติแห่งธรรม หล่อเลี้ยงรักษาให้เป็นอยู่ เมื่อสำเร็จธรรม นักพรตเห็นสมควรที่ท่านจะลงจากเขาไปโปรดผู้คน ก่อนจากกัน ท่านอาจารย์ได้ มอบธงให้มานพหนุ่มผืนหนึ่ง เป็นสีขาว มานพจัดเตรียมสัมภาระลงเขาโดยเอากระเพาะและลำไส้ ของเขา ที่ตากแห้ง เก็บไว้ นำติดตัวลงมาด้วย ครั้นเดินทางถึงตีนเขา ได้ยินเสียงร้องอย่างเจ็บปวดของหญิงสาว จึงเข้าไปดู พบหญิงท้องแก่กำลังจะคลอดบุตร มานพหนุ่มบอกแก่หญิงคนนั้นว่า ท่านเป็นผู้ชายและเป็นนักบวช มิใช่หน้าที่ที่จะช่วยการคลอดได้ ได้แต่มอบธงผืนที่อาจารย์มอบให้แก่หญิงคนนั้น เพื่อรองรับเด็กทารก หญิงคนนั้นคลอดบุตรออกมาอย่างปลอดภัย เมื่อตัดสายสะดือเช็ดคราบเลือดแล้ว ยกทารกน้อยอุ้มขึ้นในอ้อมกอด หญิงคนนั้นได้ขอบใจท่านมานพหนุ่ม และส่งคืนธงที่เปื้อนเลือดคืนแก่ท่าน มานพหนุ่มจึงนำธงไปล้างที่ชายคลอง พอธงจุ่มลงน้ำ น้ำในคลองพลันเปลี่ยนเป็นสีดำทันที รวมทั้งธงของเขาก็กลายเป็นสีดำด้วย โดยไม่ได้ระวัง ระหว่างที่ล้างกระเพาะและลำไส้ที่เก็บไว้ชายพก ตกลงไปในน้ำ เขาก็คิดว่าดีเหมือนกัน ไม่ต้องเป็นภาระเก็บรักษาอีกต่อไป มานพหนุ่มลงเขาโปรดผู้คนอยู่จวบจนสิ้นวาระขัยจากมนุษย์โลก ไปเสวยทิพย์สมบัติ องค์เง็กเซียนฮ่องเต้จ้าวแห่งสวรรค์ โปรดประทานยศให้เป็น ผู้ตรวจการภพสาม ตำแหน่ง เหี่ยง เทียน เสี่ยง ตี่ ผู้พิชิตมาร โดยมีธงเทพโองการดำเป็นอาญาสิทธิ์ ธงสีดำเป็นสัญลักษณ์ของท่าน เป็นธงบัญชาการของเจ้าหรือเทพพรหม มีลัญจกรอยู่ในธง อาญาสิทธิ์เฉียบขาด
 ต่อมาเง็กเซียนฮ่องเต้มีพระบัญชาให้ไปปราบสัตว์ประหลาด 2 ตน พอพบสัตว์ประหลาดทั้งสอง เฮี่ยงเทียนเสี่ยงตี่ทราบทันทีว่าเป็นกระเพาะและลำไส้ของตนที่ปีศาจร้ายเข้า ไปสิงสถิตอยู่ กระเพาะกลายเป็น "เต่า" และลำไส้กลายเป็น "งู" ท่านจึงเอาเท้าข้างหนึ่งเหยียบเต่า และเท้าอีกข้างเหยียบงูไว้ สยบสัตว์ปีศาจร้ายทั้งสองจนหมดฤทธิ์ ชาวบ้านเลื่อมใสศรัทธาจึงจัด สร้างศาลเจ้าและรูปปั้นท่านขึ้นบูชา โดยใช้สัญลักษณ์เท้าเหยียบเต่า เหยียบงู และธงสีดำ โดยมี "เสือ" เป็นบริวารพาหนะ นี่คือตำนานแห่ง ตั่วเหล่าเอี๊ย หรือเฮี่ยงเทียนเสี่ยงตี่ เทพศักดิ์สิทธิ์ ประจำกลุ่มดาวด้านทิศเหนือ ผู้พิชิตมาร ในรูปลักษณ์ขุนพลเคราดำยาว เท้าเหยียบบนหลังงูและเต่าซึ่งถือเป็นสัตว์ประจำกาย มือขวาถือดาบชิดแชเกี่ยม มือซ้ายยกชี้ระดับหน้าอกไปยังท้องฟ้า อันแสดงความหมายถึงการบรรลุธรรมสำเร็จเต๋า ที่ผู้คนกราบไหว้นับถือมาจนถึงทุกวันนี้
 


ตำนานที่ 2 เทพเจ้าตั่วเหล่าเอี๊ย หรือองค์เทพ เฮี่ยงเทียนเสี่ยงตี่
คนจีนมีเจ้าที่เกี่ยวพันกับทิศหลายทีม หนึ่งคือเทพเจ้าแห่ง 5 ขุนเขาใน 5 ทิศ คือเหนือ, ใต้, ออก, ตก, และทิศตรงกลาง และมีอีกหนึ่งที่คนผู้มีภูมิวิชาเรื่องฮวงจุ้ย จะต้องรู้จักดีคือ เทพสัตว์ประจำทิศทั้ง 4 คือ
  1. แซเล้ง หรือมังกรเขียว ประจำอยู่ทิศตะวันออก
  2. แปะโฮ่ว หรือเสือขาว ประจำอยู่ทิศตะวันตก
  3. จูเซียะ หรือนกเจ้า ประจำอยู่ทิศใต้
  4. เฮี่ยงบู้ หรือคู่มิตรงูและเต่า ประจำอยู่ทิศเหนือ
เทพทิศเหนือคือ เฮี่ยงบู้ นักพรตเต๋านับถือท่านมาก กำเนิดของเทพทิศเหนือคือ การอุบัติขึ้นเองบนสวรรค์ จากการรวมตัวของเทหวัตถุในจักรวาล เกิดเป็นเทพดวงดาวองค์หนึ่งที่ได้จุติลงมาเกิดเป็นมนุษย์ในยุคอึ้งตี่ โดยเป็นโอรสของ เสียงเสียฮวงโฮ้ว แปลว่ามเหสีเสียงเสียแห่งรัฐเจ็งลัก
ด้วยตำนานการเกิดที่ค่อนข้างพิสดารตามแบบนิทานโบราณว่า มเหสีเสียงเสียทรงครรภ์นานถึง 14 เดือน แล้วได้ประสูติโอรสออกทางซี่โครง ณ วันที่ 3 เดือน 3 ของจีน
 เมื่อ เฮี่ยงบู้ อายุได้ 14 ปี ได้ออกจากวังไปเที่ยวชมเทศกาลโคมไฟ แล้วเกิดได้คิดสัจธรรมว่า เกิดเป็นคนนี้ช่างยากเสียจริง ทำอย่างไรหนอจึงจะตัดกิเลสทางโลกให้ได้ เฮี่ยงบู้ จึงสละทางโลกไปปลีกวิเวกที่เขาบู๊ตึ้ง ร่ำเรียนธรรมในแนวทางของเต๋า แล้วที่สุดก็กลายเป็นเซียน แล้วได้รับราชโองการแต่งตั้งจากเง็กเซียนฮ่องเต้ ให้เป็นเทพรักษาทิศเหนือ ด้วยพระนามว่า เฮี่ยงบู้ แปลตรงตัวว่า กำลังลึกลับอัศจรรย์ เฮี่ยงบู้ มีวรกายสูงใหญ่ถึง 9 ฟุต และมีพักตร์กลมดั่งดวงจันทร์ คิ้ว, ตา มีอำนาจ ผมดำ มีเคราและร่างกายกำยำแข็งแรง ผิวกายดำขลับ ทรงมงกุฎหยก แต่ชุดทรงกลับเป็นหญ้า  เลื่องชื่อมากว่าทรงไล่ผีเก่ง บางตำราบอกว่า เฮี่ยงบู้ เป็นอีกภาคหนึ่งของเง็กเซียนฮ่องเต้      อย่างไรก็ตาม, บางท้องที่และบางสมัยไหว้ เฮี่ยงบู้ ในฐานะเทพดวงดาว จากที่คนโบราณได้แบ่งฟ้าเป็น 28 ช่อง หรือ 28 กลุ่มดาว ในสมัยจั่นกว๋อ ได้มีคนจัดแบ่ง 28 กลุ่มดาวใหม่เป็น 4 กลุ่มใหญ่ แล้วให้ชื่อเป็นสัตว์ 4 ชนิดคือ
  • มังกรเขียว สำหรับกลุ่มดาวทางทิศตะวันออก
  • เสือขาว สำหรับกลุ่มดาวทางทิศตะวันตก
  • นกเจ้า สำหรับกลุ่มดาวทางทิศใต้
  • เต่า สำหรับกลุ่มดาวทางทิศเหนือ
ต่อมาเต่าถูกจับคู่กับงู แล้วเป็นสัญลักษณ์ประจำองค์ของ เฮี่ยงบู้ ครั้นถึงสมัยราชวงศ์ซ่งใต้ เฮี่ยงบู้ ถูกวาดภาพให้เป็นเทพผมยาว ทรงชุดใหญ่และถือดาบ
 สมัยราชวงศ์เหม็ง ตามศาลเจ้านิยมสร้างองค์ เฮี่ยงบู้ ไว้บูชา โดยมีคู่มิตรเต่า งู อยู่เคียงองค์ แล้วคนเกิดเชื่อถือกันว่า ถ้าไหว้ท่านด้วยน้ำและไฟ จะช่วยให้พ้นภัยพิบัตินานา
 ในสมัยราชวงศ์เซ็ง ฮ่องเต้มีโองการให้ไหว้ เฮี่ยงบู้ ในวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระองค์ ด้วยความเชื่อส่วนพระองค์ว่า เฮี่ยงบู้ เป็นผู้ดูแลโชคชะตาของคน พระองค์จึงไหว้เพื่อขอพรให้ทรงพระชนมายุยืนยาว  หลังจากสมัยต่างๆ เหล่านี้ เทพทิศเหนือ เฮี่ยงบู้ จึงเป็นที่เคารพกราบไหว้ของคนจีน ไหว้เพื่อขอพรให้โชคดี
 
คำสวดถวาย องค์ตั่วเล่าเอี๊ยกง
เทียง เอียง เอียง จุ้ย เหมี่ยง เมี้ยง ปัก เทียง จุ้ย เต็ก เหล่ง ขี่ เชี้ยง
จิง บู้ สิ่ง เจี่ยง เง็ก ฮือ ห่วย เสี่ยง เต็ง กิม ขวก ตี่ หง่วง เทียง
จี๋ เพ้า กิม ตั่ว เง็ก กวง เหยี่ยว โหงว ลุ้ย สิ่ง เปีย หู่ แก่ เปี่ยง
หลัก เต็ง เง็ก นึ่ง สุ่ย จอ อิ๋ว โปย สั่วะ เจียง กุง อ่วย เอ่า เชี้ยง
โปย ข่วย สิ่ง กู จั่ว เจี่ยง กั่ง หง เซี่ย จก เท้ง ปวย เซี้ยง
อุย เฮี้ยง สิ่ง เล้ง ทงสี่ ไฮ่ เสียะ ซี ฮก เจ๊ก บ่วง มิ้ง เตียม
เหียง เก็ง หุก เกาะ แจ่ สก สก เจ็ง เล้ง เหียก สิ่ว ห่วย จวง เงี้ยม
กิม ซี้ อู้ อี่ ห่ง หุก เสี่ย จี เซียว เล้า เจี๋ย เยี่ยว เชง เฮียง
ซำ กุ๋ย กิว ไป่ คึง เค่า เชี่ย เหี่ยง เทียง เสี่ยง ตี่ เกี้ย เหมี่ยว เฮี้ยง
ฮก หง่วง ไต่ ชี้ย เทียง จุง กั่ง อี๋ ตื๋อ เอียว ม้อ เจง สุ่ย เซี้ยง
กิ้บ กิบ หยู่ หลุก เหลง
จบคำสวดบูชา องค์ตั่วเล่าเอี๊ยกง

ประวัติเทพเจ้าแห่งโชคลาภ : ไฉ่ซิงเอี้ย



สมัยโบราณการไหว้เทพเจ้าแห่งโชคลาภ ต้องไปไหว้ตามศาลเจ้า แต่ในปัจจุบันนิยมนำรูป
ปั้นหรือภาพเหมือนขององค์ไฉ่ซิงเอี้ยมาประทับไว้ที่บ้านเพื่อกราบไหว้ขอพรให้มีโชคลาภในวัน ตรุษจีน
ภาคที่ 1
เทพเจ้าแห่งโชคลาภฝ่ายบู้มีนามว่า บูไฉ่ซิงเอี้ย ตามตำนานเล่าว่าเดิมมีชื่อว่า เจ้า
กงหมิง บำเพ็ญเพียรอยู่บนเขาง้อไบ้ จนสำเร็จมรรคผลเป็นเซียน มีหน้าตาดุร้ายไว้หนวดเครา
รุงรัง มีเสือดำหรือเสือโคร่งเป็นบริวาร มีแส้เหล็ก ไข่มุกวิเศษ และเชือกล่ามมังกร เป็นของวิเศษ
ประจำตัว มีอิทธิฤทธิ์ถึงขนาด เจียงไท้กง เทพผู้สามารถแต่งตั้งเทพเจ้ายังต้องเกรงใจ และต่อ
มาภายหลังได้ของวิเศษเพิ่มอีก 4 อย่าง ซึ่งสามารถเรียกเงินทองให้ไหลมาเทมาได้
ภาคที่2
เทพเจ้าแห่งโชคลาภฝ่ายบุ๋นมีนามว่า บุงไฉ่ซิงเอี้ย ตามตำนานเล่าว่าเดิมมีชื่อว่า ปี่
กาน มีตำแหน่งเป็นถึงอัครมหาเสนาบดี ของติ๋วอ๋องฮ่องเต้ ซึ่งเป็นฮ่องเต้องค์สุดท้ายของราชวงศ์
ชาง มีหน้าขาวสะอาดเกลี้ยงเกลา รับใช้แผ่นดินด้วยความภักดี แต่ถูกสนมเอกฮ่องเต้วางแผน
แกล้ง ขอหัวใจปี่กานไปทำยารักษาชีวิต เรื่องนี้รู้ไปถึงเจียงไท้กง ซึ่งเป็นเทพอาวุโสจึงได้มาช่วย
เมื่อปี่กานควักหัวใจให้สนมเอกไปแล้วก็ไม่ตาย แต่รู้สึกหมดอาลัยกับชีวิตราชการ จึงตัดสินใจ
เดินออกจากวังหลวงร่อนเร่ไปทั่ว เมื่อไปถึงไหนก็โปรยเงินโปรยทองแจกชาวบ้าน เมื่อสิ้นอายุไขจึงได้กลายเป็น เทพเจ้าแห่งโชคลาภ มีพระนามว่าบุงไฉ่ซิงเอี้ย มีลักษณะ ภูมิฐานยืนถือป้ายคำอวยพรให้มีโชคลาภมั่งมีศรีสุข ปีใหม่ขอให้ร่ำรวย ทรัพย์สินเงินทอง มีเด็กๆ หน้าตาน่ารักแบกทองถือเงินตามมาอวยพรด้วย  ฤกษ์ไหว้เทพเจ้าแห่งโชคลาภ จะแตกต่างกันทุกปี ในปี 2547 ซึ่งตรงกับปีวอกนั้นเทพเจ้าแห่งโชคลาภจะเสด็จมาทางทิศตะวันออก ซึ่งในปีนี้ฤกษ์ดีตรงกับเวลาตี 3 ถึง ตี4.45 น. ของเช้า ตรู่วันที่ 22 มกราคม ตามฤกษ์ดังกล่าวชาวจีนจะทำพิธีการอัญเชิญเทพเจ้าแห่งโชคลาภมาประทับที่บ้าน เพื่อขอให้ท่านประทานพรดลบันดาลความมั่งมีศรีสุข โชคลาภทรัพย์สมบูรณ์ เงินทองไหลมาเทมา
และเปี่ยมด้วยความสุขตลอดทั้งปี



เครื่องเซ่นไหว้เทพเจ้าแห่งโชคลาภมีดังนี้
1. กิมหงิ่งเต้า 1 คู่ ( กระดาษไหว้เจ้าลักษณะเป็น รูปทรงกระบอกคล้ายถังเงินถังทอง )
2. เทียนเถ่าจี้ 1 ชุด ( กระดาษไหว้เจ้าลักษณะเป็นแผ่นยาวสีแดง ขอบเขียว )
3. ค้อซี 1 พวง ( กระดาษไหว้เจ้าพับเป็นรูปเงินแล้วร้อยเป็นพวง )
4. ธูปคนละ 3 ดอก
5. เทียนแดง 1 คู่
6. ข้าวสวย 5 ที่
7. น้ำชา 5 ถ้วย
8. สาคูแดงต้มสุก 5 ชาม
9. ผลไม้มงคล 5 อย่าง เช่น ส้ม กล้วย ท้อ สาลี่ แอปเปิ้ล ฯลฯ.
10 เจไฉ่ 5 อย่าง ได้แก่ เห็ดหอม ฟองเต้าหู้ วุ้นเส้น เห็ดหูหนู จำฉ่าย (ดอกไม้จีน)
11.แจกันดอกไม้สด 1 คู่
12.ขนมจันอับ 1 จาน ประกอบด้วย ถั่วเคลือบน้ำตาลสีขาว ถั่วเคลือบน้ำตาลสีชมพู ฟัก
เชื่อม ถั่วตัด ข้าวพอง
ในการประกอบพิธีควรนำเครื่องเซ่นไหว้เหล่านี้มาจัดวางบนโต๊ะและหันหน้าไปทางทิศ
ตะวันออก ซึ่งเป็นทิศที่เทพเจ้าไฉ่ซิงเอี้ยจะเสด็จมา โดยเริ่มตั้งโต๊ะก่อนเวลาที่ท่านจะเสด็จมา
สักเล็กน้อย เมื่อได้ฤกษ์ไหว้แล้วจุดธูปกล่าวอัญเชิญและขอพรจากท่าน

ขอขอบคุณที่มา:www.icygang.com

ประวัติความเป็นมาของเทพเจ้าแห่งโชคลาภ(ไฉ่ซิ้งเอี๊ย)
กล่าวไว้ว่า รอบเขาพระสุเมรุทั้ง 4 ทิศ มีเทวดาชั้นจตุมหาราชิก ประจำอยู่ทั้ง 4 ทิศ หรือที่รู้จักกันดีในนามของจตุโลกบาลองค์ที่เป็นใหญ่ในทิศเหนือ มีนามว่า ท้าวเวสสุวรรณ หรือเจ้าแห่งยักษ์
เทียบชั้นยักษ์ตนนี้เป็นพระโพธิสัตว์ของพุทธศาสนาฝ่ายมหายานประจำตำแหน่งธรรมบาลที่ได้รับความนับถือกันมาก ก่อนจะมาแพร่หลายในยุค 8 นั้น ร้านขายเทวรูปย่านพาหุรัดมีให้เช่ามานานแล้ว ส่วนใหญ่เป็นศิลปะทิเบต เนปาล ไม่ได้เรียกขานว่า ชัมภลและพระธนบดี แต่รู้จักในฐานะ "ท้าวกุเวร" เจ้าแห่งยักษ์ผู้มั่งคั่งด้วยทรัพย์สิน ฐานะในวันนี้คือ เจ้าแห่งทรัพย์ ผู้ประทานโชคลาภ ทรัพย์สิน และความมั่งคง
เป็นเทพรุ่นเก่าในยุคพราหมณ์ และพระโพธิสัตว์องค์หนึ่งของพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน พระนามเดิมนั่นคือ ท้าวกุเวร เป็นเทพประจำโลกบาลทางทิศเหนือ มีฉายาเดิมว่า "เจ้าแห่งทรัพย์" ตำนานว่าเป็นเจ้าแห่งยักษ์ทั้งปวง อีกชื่อที่คนไทยรู้จักกันดีคือ ท้าวเวสสุวรรณ รามเกียรติ์เรียก ท้าวกุเรปัน ในฝ่ายพุทธมหายาน มีการกล่าวถึงจตุโลกบาล เช่นกัน และตรงกันว่า มหาราชผู้เป็นใหญ่ในทิศเหนือ คือ ท้าวเวสสุวรรณ เป็นเทพผู้รักษาพระพุทธศาสนา ดังจะเห็นได้จากทางเข้าวัดจีน จะมีจตุโลกบาล 4 องค์ ยืนเฝ้าอยู่ ศาสนาพุทธมหายานครอบคลุมถึงทิเบต เนปาล และประเทศจีนปัจจุบัน รวมทั้งอดีตพันกว่าปีของคาบสมุทรทะเลใต้ คือ อินโดนีเซีย ไทย เขมร ที่ศาสนาพุทธมหายานเคยรุ่งเรืองถึงขีดสุด ที่กล่าวโดยสรุปย่อๆ ให้เห็นภาพชัดเจนว่าท่านคือใคร แล้วท้าวชุมภลหรือเศรษฐีชัมภลมาจากไหน ในคาถาบูชาเทพเจ้าแห่งโชคลาภของพุทธตันตระ ฝ่ายมหายาน มีดังนี้ "โอม ชัมภาลา จนเลน ไนเยน สวาหะ" "ชัมภาลา" ก็คือ ชัมภล นั่นเอง และในภาษาอังกฤษที่เรียกรูปเคารพของท้าวกุเวร หรือท้าวเวสสุวรรณ ก็เขียนทับศัพท์ว่า "JAMBHALA" ตามรูปสมมุติที่สร้างขึ้นเท่าที่ปรากฎตามที่ได้ค้นคว้าจากตำราทั้งภาษาไทย จีน อังกฤษ ฝรั่งเศส ปรากฎตรงกันว่า ท่านถือพังพอนอยู่ในมือด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่งถือลูกแก้ว หรือฉัตรก็มี หน้าตาบางปางท่านจะดุดันเข้มขลัง เพราะท่านคือเจ้าแห่งยักษ์ เมืองจีนยุคหลัง ๆ เรียกท่านว่า "ไฉ่ซิ้งเอี้ย" ตามสำเนียง และภาษาที่เป็นไปของแต่ละพื้นที่ พร้อมกับมีนิทานเรื่องขุนนางจีนมาประกอบ แต่ยังปรากฎรากศัพท์ของเสียง "ฉ" หรือ "ช" ที่ภาษาจีนทางใต้ออกเสียง "ใช้" หมายถึง ความร่ำรวย ซึ่งใกล้เคียงของเดิม คือ "ชัมภล" "ชัมภาลา"
ในหนังสือเทวกำเนิดของพระยาสัจจาภิรมย์ (สรวง ศรีเพ็ญ) พิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2474 ได้กล่าวถึงเรื่องจตุโลกบาลและเรื่องราวของท้าวเวสสุวรรณไว้ว่า เป็นใหญ่ในทิศเหนือ มีด้วยกันหลายนาม เช่น ท้าวกุเวรธนบดี (เป็นใหญ่ในทรัพย์) ธเนศวร (เจ้าแห่งทรัพย์) อิจฉาวสุ (มั่งมีได้ตามใจ) ยักษ์ราช (ราชาแห่งยักษ์) กุตนุ (มีรูปร่างน่าเกลียด หมายถึง ยักษ์ที่มีหน้าตาดุ นั่นเอง) รัตนครรภ (มีเพชรเต็มพุง) ราชราช (ราชะราชเจ้าแห่งราชา) นรราช (เจ้าคน) รากชเสนทร์ (เป็นใหญ่ในรากษส) ฯลฯ...
จะเห็นได้ว่า จะเรียกอย่างไรก็ตาม ท่านก็คือสัญลักษณ์แห่งความร่ำรวย ผู้เป็นมหาราชประจำทิศเหนือ และในอาฏานาฏิยะปริตรมหาสมัยสูตร หรือ บทสวดภาณยักษ์ ก็กล่าวว่า ท้าวกุเวร เป็นจอมยักษ์ และเป็นผู้ดูแลรักษาโลกในทิศเหนือ...
ชื่อเรียกอย่างเป็นทางการในประเทศไทย มีอยู่ 2 พระนาม คือ "มหาเศรษฐีชัมภล" (จัดสร้างโดยพุทธสถาน จีเต็กลิ้ม) และ "พระธนบดีศรีธรรมราช" (รุ่นชนะมาร จัดสร้างโดย มูลนิธิสิรินธรราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์) มหาเศรษฐีชัมภลและพระธนบดี แม้จะเรียกนามต่างกัน แต่เป็นเทพเจ้าแห่งโชคลาภของพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ซึ่งเมื่อครั้งโบราณนั้น ตั้งแต่เมืองไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ไล่ลงไปจดเกาะชวานั้น เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรศรีวิชัย ที่เจริญรุ่งเรืองด้วยพุทธศาสนามหายาน (แบบอินเดีย) มาก่อน ดังนั้น ลัทธิบูชาและรูปเคารพมักปรากฎพระโพธิสัตว์หลายพระองค์เป็นหลักฐาน อาทิ พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ และพระชัมภลโพธิสัตว์
พระธนบดี ศิลปะศรีวิชัย มีอายุราว 1,200 ปี ที่พิพิธภันฑ์กีเมต์ ประเทศฝรั่งเศส งดงามมาก และเป็นต้นแบบของการจัดสร้างพระธนบดีรุ่น "ปราบมาร" ส่วนมหาเศรษฐีชัมภลนั้นได้ต้นแบบมาจากรูปสลักหิน อายุกว่าพันปี ที่เขาเฟยไหลฟง วัดหลิงหยิน เมืองหังโจว ประเทศจีน
ตามพุทธสูตรกล่าวไว้ว่า "ขอเพียงแต่วาดภาพหรือแกะสลักรูปของมหาเศรษฐีชัมภล จะคิดสิ่งใดก็ได้สิ่งนั้นสมดังใจปรารถนา เทวรูปมั่งคั่งองค์นี้ก็คือ เทพธนาของพระพุทธศาสนานิกายตันตระ มีพระนามว่า รัตนโกศมหาพญายักษ์ มีหน้าที่ปกครองดูแลโภคทรัพย์อย่างมั่นคง"
ในการสวดมนต์ขอพรเทพเจ้าแห่งโชคลาภนั้น ทางฝ่ายตันตระมหายานก็จะใช้คาถาตามที่กล่าวไป เพื่อขอพรให้ท่านประทานโชคลาภและความร่ำรวย ทั้งยังมีอานุภาพในการคุ้มครอง ปกป้องทรัพย์สินที่มีอยู่แล้วให้ปลอดภัย รวมถึงจากบรรดาภูติผีปีศาจ อำนวจชั่วร้ายทั้งปวงก็ไม่สามารถทำอันตรายได้ เพราะท่านคือ มหาราช ผู้เป็นจตุโลกบาล เจ้าแห่งยักษ์



เทพเจ้าแห่งโชคลาภ (ไฉ่ซิ้งเอี้ย) สามารถจัดแบ่งได้ดังนี้

   
 
  1. ปางมหาเศรษฐีชัมภล ซึ่งเป็นปางที่ใหญ่สุด และมีความเก่าแก่ที่สุด กว่า 1,000 ปี
 (กำเนิดจากพระพุทธศาสนามหายาน)


  
 

2. ปางบู๊ ทรงเครื่องนักรบโบราณ มีเสือ หรือ สิงห์ ประทับอยู่ด้วย คติมาจากความที่เป็นยักษ์นั่นเอง ทั้งพุทธมหายานและเต๋า ก็มีการประยุกต์มาเช่นกัน
ฝ่ายบู๊ - ชื่อ "เจ้ากงหมิง" เรียก บูไฉ่ซิงเอื้ย เป็นนักพรตหน้าตาดุดัน บำเพ็ญเพียรอยู่บนเขาง้อไบ๊ จนสำเร็จเซียน มีเสือโคร่งเป็นบริวาร ทั้งยังมีอาวุธวิเศษคุ่กายหลายอย่าง เช่น แส้เหล็ก, ไข่มุกวิเศษ, เชือกล่ามมังกร เจ้ากงหมิงรู้ว่า เจียงไท้กงมีอำนาจในการแต่งตั้ง "เทพเจ้า" จึงบังคับให้แต่งตั้งตนเป็นเทพเจ้าแห่งโชคลาภ เจียงไท้กงเพลี่ยงพล้ำสู้เจ้ากงหมิงไม่ได้ เลยบอกว่าจะมีเทพเจ้าในตำแหน่งเดียวกัน 2 คนได้อย่างไร ถ้าเจ้ากงหมิงได้หัวใจของปี่กานมา ก็จะสถาปนาให้ เจ้ากงหมิงจึงบัญชาให้เสือโคร่งไปควักหัวใจของปี่กานมา ปรากฎว่าเสือกระโจนใส่และฉีกร่างของปี่กานควานหาหัวใจแต่ไม่พบ ต่อมาเจียงไท้กงสำนึกว่า ตนหลอกเจ้ากงหมิงเพื่อเอาตัวรอด ดังนั้น จึงยอมสถาปนาให้เป็นเทพเจ้าแห่งโชคลาภในฝ่ายบู๊
  

3. ปางบุ๋น เป็นรูปขุนนางจีนดังที่เห็นกันทั่วไป ซึ่งปางนี้กำเนิดภายหลังไม่กี่ร้อยปี คล้ายคลึงกับเทพเจ้าองค์อื่น ๆ ของจีน เช่น ตี่จูเอี้ย แป๊ะกง ฯลฯ อาจจะมีคฑายู่อี่และถือก้อนเงินจีนโบราณ มีที่มาจากลัทธิเต๋าอย่างชัดเจน
ฝ่ายบุ๋น - ชื่อ "ปี่กาน" เรียก "บุงไฉ่ซิงเอี้ย" เป็นอัครเสนาบดี ของจักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์ซาง เป็นอัครเสนาบดีที่ซื่อสัตย์ต่อแผ่นดิน มักจะกราบทูลฮ่องเต้ที่ลุ่มหลงในพระสนมให้ว่าราชการอยู่เนือง ๆ ฝ่ายพระสนมจึงไม่ค่อยชอบขี้หน้าอัครเสนาบดีปี่กาน ก็เลยหาวิธีกลั่นแกล้ง ทำเป็นล้มป่วย สมคบกับแพทย์หลวง ราชสำนัก ทูลฮ่องเต้ขอหัวใจของปี่กานมาทำยา เจียงไท้กงเทพอาวุโสบนสวรรค์ล่วงรู้ จึงให้ยาอมตะไปเม็ดหนึ่ง ครั้นเมื่อปี่กานควักหัวใจให้สนมเอก ก็หาได้จบชีวิตอันใดไม่ กลับหมดอาลัยในชีวิตราชการ เดินออกจากวังหลวงเที่ยวโปรยเงินไปทั่วเพื่อแจกจ่ายชาวบ้าน ครั้นสิ้นอายุขัยก็ไปจุติเป็นเซียน เป็นเทพเจ้าแห่งโชคลาภ
จะเห็นได้ว่า เทพเจ้าแห่งโชคลาภ มีความเก่าแก่ยาวนานและมีประวัติความเป็นมาที่สากลปรากฎในหลายประเทศแถบทวีปเอเซีย แต่ของลัทธิเต๋านั้นมากำเนิดขึ้นภายหลังในประเทศจีน ซึ่งจะมีกึ่งตำนานกึ่งนิทานตามตำนานมหาเทพของจีน (ฮงสิงปั้ง) ที่เป็นบุคคลธรรมดาต่อมาภายหลัง เมื่อเสียชีวิตจึงได้รับการยกเป็นเทพ